จุดมุ่งหมายของรายวิชา
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีภาวะการเจ็บป่วย เฉียบพลัน วิกฤต เรื้อรังที่คุกคามชีวิต และการใช้ยาสมเหตุผล การบาดเจ็บจาก อุบัติเหตุและภาวะฉุกเฉิน การฟื้นคืนชีพ และการฟื้นฟูสภาพผู้ใหญ่ที่ระบบทางเดิน หายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาทและไขสันหลัง ระบบทางเดินปัสสาวะ ภาวะช็อค ภาวะล้มเหลวของอวัยวะหลายระบบ
เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ทักษะทางปัญญา ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการบริหารและเทคนิคการจัดการในองค์กร ภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีม กระบวนการบริหารคุณภาพ ขอบเขตหน้าที่และสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในสถานบริการแต่ละระดับ การพัฒนาบทบาทพยาบาลเพื่อเป็นผู้ประกอบการในสถานบริการสุขภาพ การพัฒนาคุณภาพและนวัตกรรมทางการพยาบาล การบริหารความเสี่ยงและการแก้ปัญหาในบทบาทของพยาบาลในทุกมิติสุขภาพ
แนวคิดและหลักการพื้นฐานของจิตตปัญญาศึกษา
วิธีการและการปฏิบัติตามแนวการเรียนรู้วิถีจิตตปัญญาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
พัฒนาการเรียนรู้อย่างใคร่ครวญ การเรียนรู้เชิงประสบการณ์
และกระบวนการเรียนรู้ฐานองค์รวม
หลักการพื้นฐาน ลักษณะขอบเขตและบทบาทการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต เครื่องมือและการใช้เครื่องมือคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตและการจำแนกโรคทางจิตเวช เครื่องมือและเทคนิคการบำบัดทางการพยาบาลจิตเวช การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรม ปัญหาสุขภาพจิตและจิตสังคม ความผิดปกติด้านต่าง ๆ การพยาบาลผู้เสพหรือติดสารเสพติด การใช้ยาอย่างสมเหตุผลเพื่อการบำบัดทางจิตเวช การรักษาและการบำบัดทางจิตเวช เทคนิคการให้คำปรึกษา การสนับสนุนครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเด็กและผู้ใหญ่ในชุมชน
แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการปรับพฤติกรรมสุขภาพ ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ การประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพ บทบาทพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ และการประยุกต์ใช้วิธีการสร้างเสริมสุขภาพกับบุคคล ครอบครัว และชุมชน
ประวัติความเป็นมา และพัฒนาการของวิชาชีพการพยาบาล สัมมนาประเด็นและแนวโน้มของวิชาชีพการพยาบาลที่เป็นสากล ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อวิชาชีพการพยาบาล คุณภาพและมาตรฐานการพยาบาลในสถานบริการสุขภาพ การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์และสังคม เพื่อการจัดการทรัพยากรทางการพยาบาล
แนวคิดวิถีชุมชน หลักการระบาดวิทยา สถิติชีพ ดัชนีอนามัย
การเสริมสร้างพลังอำนาจและบทบาทพยาบาลอนามัยชุมชนในการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน
การดูแลสุขภาพของครอบครัวในการป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล การจัดการทรัพยากรในชุมชนท้องถิ่นและการฟื้นฟูสุขภาพของบุคคลทุกช่วงวัยในชุมชน
เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ทักษะทางปัญญา ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการบริหารและเทคนิคการจัดการในองค์กร ภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีม กระบวนการบริหารคุณภาพ ขอบเขตหน้าที่และสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในสถานบริการแต่ละระดับ การพัฒนาบทบาทพยาบาลเพื่อเป็นผู้ประกอบการในสถานบริการสุขภาพ การพัฒนาคุณภาพและนวัตกรรมทางการพยาบาล การบริหารความเสี่ยงและการแก้ปัญหาในบทบาทของพยาบาลในทุกมิติสุขภาพ
แนวคิด หลักการของการพยาบาลมารดาและทารก การให้คำปรึกษาก่อนสมรส การวางแผนครอบครัว การรับฝากครรภ์ ภาวะมีบุตรยาก การตั้งครรภ์และพัฒนาการของทารกในครรภ์ การเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาและจิตสังคมระยะตั้งครรภ์ การประเมินภาวะสุขภาพมารดา-ทารกในระยะตั้งครรภ์และการคัดกรอง การเตรียมตัวเพื่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กระบวนการคลอดและการทำคลอด บทบาทการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดปกติ การเสริมสร้างสัมพันธภาพมารดา-ทารก และครอบครัว บนพื้นฐานการพยาบาลแบบเอื้ออาทรและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาสุขภาพ โดยประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ยึดหลักจริยธรรม สิทธิมนุษยชนและกฎหมายวิชาชีพ
Concepts, nursing principles of mother and infant, premarital couseling, family planning , ANC , infertility, pregnancy and the development of fetus , physiological and psychosocial changes during pregnancy, health assessment and screening of mother and fetus,preparing for breastfeeding, mechanism of lobor and normal labor,midwifery and nurse’s role for pregnancy , intrapartum and postpartum periods, the promotion of relationship between mother – baby and family based on caring and humanized nursing care, health promotion and health problem prevention through the application of local wisdom based on human rights and the Professional Nursing Law.
ความรู้พื้นฐานทางเภสัชวิทยา หลักการใช้ยาอย่างสมเหตุผล บทบาทและหน้าที่ของพยาบาลในการใช้ยา